วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย (ใบงานที่2 ข้อ.2)

บทที่ 3

ระเบียบวิธีวิจัย



3.1 วิธีวิจัย

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

3.2 การสุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในการวิจับเชิงปริมาณนี้ ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 100 คน ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาโดยใช้สูตรยามาเน (Yamane) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือดังนี้

1. ศึกษาอิทธิพลของสื่อที่เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า
2. ศึกษาวัตถุประสงค์กรอบแนวคิดและสมมติฐาน
3. นิยามตัวแปรเพื่อสร้างแบบสอบถาม
4. สร้างแบบสอบถามให้ควบคลุมตัวแปร
5. นำแบบสอบถามให้กับอาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบแล้วไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครแล้วเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป


3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ภายหลังจากที่ได้แบบสอบถามต่อมานำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามและทำการบันทึกรหัสตามคู่มือที่ได้กำหนดไว้เพื่อประมวลด้วยโปรแกรม สำหรับแบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่าผู้ศึกษากำหนดน้ำหนักคะแนนดังนี้

คะแนน ระดับแรงจูงใจ
1 น้อยที่สุด
2 น้อย
3 ปานกลาง
4 มาก
5 มากที่สุด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ f-test
สำหรับเกณฑ์แปลค่าเฉลี่ยผู้ศึกษาใช้เกณฑ์การแบ่งช่วงชั้นดังนี้

คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.80 ถือว่ามีแรงจูงใจน้อยที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 1.81-2.60 ถือว่ามีแรงจูงใจน้อย
คะแนนเฉลี่ย 2.61-3.40 ถือว่ามีแรงจูงใจปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 3.41-4.20 ถือว่ามีแรงจูงใจมาก
คะแนนเฉลี่ย 4.21-5.00 ถือว่ามีแรงจูงใจมากที่สุด